E-commerce : Digital Markets, Digital Goods
อีคอมเมิร์ซ: ตลาดดิจิทัล สินค้าดิจิทัล
ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
คือ กระบวนการหรือขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจ โดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าองค์กรเครือข่ายร่วม
ในการดำเนินงานเพื่อให้เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำธุรกิจมากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีนี้จะใช้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านช่องทางโครงข่ายโทรคมนาคมจุดมุ่งหมายในการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
นั้นคือ
เพื่อสร้างคุณค่าทางธุรกิจมากขึ้นและลดต้นทุนการทำธุรกิจโดยการอาศัยแรงงานคนที่น้อยในกาใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ช่วยให้องค์กรภายนอกและภายในมีการดำเนินงานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: Electronic commerce) หรือ อีคอมเมิร์ซ
(e-Commerce) หรือ พาณิชยกรรมออนไลน์ หมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกๆ ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์
ได้แก่ อินเทอร์เน็ต และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำผ่าน โทรศัพท์เคลื่อนที่
การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การโฆษณาในอินเทอร์เน็ต
แม้กระทั่งซื้อขายออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มค่าใช้จ่าย
และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง
เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย
พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น
โครงสร้างของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
แบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้
1. กิจกรรมส่วนหน้า
(Front
Office) หมายถึงส่วนที่ติดต่อซื้อขายกับลุกค้าโดยตรง
2.
กิจกรรมส่วนหลัง (Black
Office) กิจกรรมที่ต่อเนื่องจากส่วนแรก ได้แก่
การตรวจสอบสินค้าคงคลัง การเบิกจ่ายสินค้า การสั่งบรรจุหีบห่อ
3. กิจกรรมกับองค์กรภายนอก
(Extra-back
Office) เป็นกิจกรรมต่อจากกิจกรรมส่วนหลัง เพื่อทำธุรกรรมทางธุรกิจที่ติดต่อกับองค์กรภายนอก
เช่น ผู้ขายวัตถุดิบ บริษัทขนส่ง และธนาคาร
ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่งโมง และขายสินค้าได้ทั่วโลก
นักท่องอินเตอร์เน็ตจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้ามาในเว็บไซต์ของบริษัทได้ตลอดเวลาผู้ขายสามารถนำเสนอสินค้า
ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆได้อย่างรวดเร็ว โดยคำสั่งซื้ออาจเกิดขึ้นตลอด 24 ชั่วโมงและมาจากที่ต่างๆกัน
2. ข้อมูลทันสมัยอยู่เสมอ
และประหยัดค่าใช้จ่าย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
นั้นมีประโยชน์ที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง คือสามารถ
เสนอข้อมูลที่ใหม่ล่าสุดให้กับลูกค้าได้ทันทีซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์เอกสาร
และประหยัดเวลาในการประชาสัมพันธ์
3. ทำงานแทนพนักงานขาย
และเพิ่มประสิทธิภาพการขาย
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถทำงานแทนพนักงานขายของคุณได้
โดยสามารถทำการค้าในรูปแบบอัตโนมัติ และดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว
ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการทางธุรกิจภายในองค์กรนั้นๆ
4. แทนหน้าร้าน
หรือบูทแสดงสินค้า
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงสินค้าที่มีอยู่ให้กับลูกค้าทั่วโลกได้มองเห็นสินค้าของคุณ
โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายตกแต่งหน้าร้าน
หรือในการเดินทางออกไปในบูทแสดงสินค้าในที่ต่างๆ
5. เทคโนโลยีช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ๆมาช่วยในการทำให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น
การแสดงสินค้าโดยผู้ชมสามารถดูสินค้าได้ 180 องศา
หรือลูกค้าสามารถอ่านหัวข้อของหนังสือที่ต้องการซื้อก่อนได้
6. ง่ายต่อการชำระเงิน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถชำระเงินได้อย่างสะดวกสบายโดยวิธีการตัดผ่านบัตรเครดิตหรือการโอนเงินเข้าบัญชีซึ่งจะเป็นระบบอัตโนมัติ
7. เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ
ในโลกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บริษัทขนาดเล็กสามารถมีโอกาสทางธุรกิจเทียบได้กับบริษัทขนาดใหญ่
ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆอย่าง เป็นต้นว่า ชื่อ URL ของบริษัทควรจะจำง่าย
การออกแบบเว็บไซต์ให้สวยงามและปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
การสั่งซื้อและการชำระเงินมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี เป็นต้น
8. สร้างความประทับใจและพึงพอใจได้มากกว่า
ปัจจุบันการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตทำได้อย่างง่ายดาย
สินค้าและบริการมีให้เลือกมากมายทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง
และเสียเวลาไปกับการค้นหาสินค้าและบริการที่ต้องการ
ลูกค้าสามารถค้นหาสินค้าที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วที่สุด เช่น
ถ้าลูกค้าต้องการซื้อของตกแต่งบ้านจากเว็บไซต์ Bangpa-in.com ลูกค้าสามารถจะค้นหาสินค้าจากประเภทของสินค้า
หรือค้นหาตามรูปแบบที่ต้องการได้
ในกรณีที่ลูกค้าสั่งสินค้าและได้ให้รายละเอียดส่วนตัวไว้ ร้านค้าสามารถ บันทึก
รายละเอียดของลูกค้าไว้ในฐานข้อมูลของเราเพื่อความสะดวกของลูกค้าในการสั่งซื้อสินค้าครั้งต่อไป
(Member System)
9. รู้และแก้ปัญหาต่างๆได้ทันท่วงที
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถให้บริการหลังการขายได้เช่นกัน
โดยใช้ประโยชน์จากอีเมล์ในการติดต่อลูกค้า
การสร้างแบบสอบถามลูกค้าเพื่อสอบถามความพึงพอใจต่อสินค้าและบริการทำให้ร้านค้าสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นและทันท่วงที
กรอบการทำงานของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ส่วนที่ 1 การประยุกต์ใช้
·
การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
·
การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advertisement)
·
การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
·
การบริการอิเล็กทรอนิกส์(E-Service)
·
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
·
การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (M-Commerce : Mobile Commerce)
ส่วนที่ 2 โครงสร้างพื้นฐาน องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐานที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
·
ระบบเครือข่าย (Network)
·
ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
·
การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)
·
การรักษาความปลอดภัย (Security)
ส่วนที่ 3 การสนับสนุน ส่วนของการสนับสนุนจะทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนส่วนของการประยุกต์ใช้งานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนเสาหลักของบ้าน ที่ทำหน้าที่ค้ำจุนให้หลังคาบ้านอย่างไรก็ตามเสาบ้านก็ต้องอาศัยพื้นบาน ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงต่อไป สำ หรับส่วนสนับสนุนของ E-Commerce มีองค์ประกอบ 5 ส่วนด้วยกันดังต่อไปนี้
·
การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development
·
การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy
·
กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law
·
การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration
·
การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion
ส่วนที่ 4 การจัดการ
การจัดการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
โมเดลทางธุรกิจของ EC
Brick-and-Mortar
Organization
องค์กรแบบเก่าที่ยังมีการดำเนินธุรกิจของเขาเป็นแบบเดิม
ทั้งการผลิตสินค้าแบบ Manual ตัวสินค้าที่จับต้องได้
และจัดจำหน่ายวางขายตามท้องตลาด
Virtual Organization
องค์กรที่มีการดำเนินต่างๆ
ทางธุรกิจทั้งการผลิต สินค้า และการจำหน่ายเป็นแบบดิจิตอลทั้งหมด
Click-and-Mortar
องค์กรที่มีการดำเนินงานหรือกิจกรรมบางงส่วนเป็นแบบ E-Commerce ในโลกเสมือนจริง
แต่กิจกรรมหลักยังคงมีการดำเนินงานแบบ Manual ในโลกจริง
ประเภทของกลุ่มธุรกิจ
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
คือ
ธุรกิจที่ค้ากำไร
ธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร
1) B2B
1) IntraBusiness (Organization)
2)
B2C
2) B2E (Business to Employee)
3)
B2B2C
3)
Government to Citizen (G2C)
4)
C2C
4) Collaborative Commerce (C-Commerce)
5)
C2B
5)
Exchange to Exchange (E2E)
6)
Mobile Commerce
6) E-Learning
ประเภทของเว็บไซต์ EC
1. การประกาศซื้อ-ขาย (E-Classified)
เป็นรูปแบบเว็บไซต์ E-Commerce ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจประกาศความต้องการ
ซื้อ-ขาย สินค้าของตนได้ภายในเว็บไซต์
โดยเว็บไซต์จะทำหน้าที่เหมือนกระดานข่าวและตัวกลางในการแสดงข้อมูลสินค้าต่างๆ
และหากมีคนสนใจสินค้าที่ประกาศไว้
ก็สามารถติดต่อตรงไปยังผู้ประกาศได้ทันทีจากข้อมูลที่ประกาศอยู่ภายในเว็บไซต์
โดยส่วนใหญ่จะมีการแบ่งหมวดหมู่ของประเภทสินค้าเอาไว้
เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าไปเลือกซื้อ-ขายสินค้าในเว็บไซต์ เช่น www.ThaiSecondhand.com
การซื้อขายรูปแบบนี้ ผู้ขายไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์ของตัวเองเลย
แค่อาศัยพื้นที่ของเว็บที่เปิดโอกาสให้ประกาศขายของ ก็สามารถเริ่มต้นการค้าขายได้แล้ว
ข้อดีเริ่มต้นได้ง่ายทันที ฟรี ข้อเสียคือไม่เหมาะกับผู้ที่มีสินค้าเป็นจำนวนมากๆ
2. เว็บไซต์แคตตาล็อกสินค้าออนไลน์
(Online Catalog Web Site)
เป็นรูปแบบจัดทำเว็บไซต์ E-Commerce
ในรูปแบบแคตตาล็อกออนไลน์ ที่มีรูปภาพและรายละเอียด สินค้าพร้อมที่อยู่เบอร์โทรติดต่อ ไม่มีระบบการชำระเงินผ่านทางเว็บไซต์
หรือระบบช้อปปิ้งการ์ด (ตะกร้าสินค้าออนไลน์)
โดยหากผู้สนใจสินค้าก็เพียงโทรสอบถามและสั่งซื้อสินค้าได้ ซึ่งเป็นการใช้เว็บไซต์เป็นเหมือนโบรชัวร์หรือแคตตาล็อกออนไลน์
เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้ามาเลือกดูรายละเอียดสินค้าและราคาได้
จากทั่วประเทศหรือทั่วโลกผ่านทางเว็บไซต์ ข้อดีของเว็บแบบนี้คือ
สร้างได้ง่ายเหมาะกับการค้าในพื้นที่หรือประเทศเดียวกัน ข้อเสียคือ ไม่สามารถขายและรับเงินได้ทันทีจากลูกค้า
ที่ต้องการชำระเงินผ่านเว็บไซต์
ซึ่งโดยส่วนใหญ่กว่า 70%
ของเว็บไซต์ E-Commerce ในประเทศไทยจะเป็นเว็บไซต์ในลักษณะนี้
เพราะด้วย รูปแบบเว็บไซต์สามารถจัดทำได้ง่าย ไม่มีความซับซ้อนมากนัก
ทำให้สามารถเริ่มต้นทำได้ง่าย เช่น www.PlatinumPDA.com
3. ร้านค้าออนไลน์
(E-Shop Web Site)
เป็นรูปแบบเว็บไซต์ E-Commerce
สมบูรณ์แบบ ที่มีทั้งระบบการจัดการสินค้า ระบบตะกร้าสินค้า (Shopping
Cart) ระบบการชำระเงิน รวมถึงการขนส่งสินค้า ครบสมบูรณ์แบบ
ทำให้ผู้ซื้อสามารถสั่งซื้อสินค้าและทำการชำระเงินผ่านเว็บไซต์ได้ทันที
โดยการชำระเงินส่วนใหญ่สามารถชำระเงินผ่าน บัตรเครดิต เป็นส่วนมาก
ในการจัดทำเว็บไซต์ลักษณะนี้
จะต้องมีระบบหลายๆ อย่างประกอบอยู่ภายใน
ทำให้มีความซับซ้อนและมีรายละเอียดในการจัดทำค่อนข้างมาก แต่ตอนนี้ก็มีเว็บไซต์ E-Commerce
สำเร็จรูป ที่พร้อมใช้บริการและมีทุกอย่างพร้อมสรรพ
ทำให้สามารถเริ่มต้นทำเว็บลักษณะนี้ได้อย่างรวดเร็ว หากท่านสนใจ
ร้านค้าออนไลน์ สามารถสมัครใช้บริการฟรี ได้ที่ www.TARADquickwe.com
4. การประมูลสินค้า
(Auction)
เป็นเว็บไซต์ E-Commerce
ที่มีรูปแบบของการนำสินค้าของไปประมูลขายกัน โดยจะเป็นการแข่งขันใน
การเสนอราคาสินค้า หากผู้ใดเสนอราคาสินค้าได้สูงสุดในช่วงเวลาที่กำหนด
ก็จะชนะการประมูลและสามารถซื้อสินค้าชิ้นนั้นไปได้ ด้วยราคาที่ได้กำหนดไว้
โดยส่วนใหญ่สินค้าที่นำมาประมูล หากเป็นสินค้าใหม่
ซึ่งหลังการประมูลสินค้าจะมีราคาที่ไม่สูงกว่าราคาท้องตลาด ยกเว้นสินค้าเก่า
บางประเภท หากยิ่งเก่ามากยิ่งมีราคาสูง เช่น ของเก่า ของสะสม เป็นต้น เช่น http://auction.tarad.com,
www.ebay.com
5. ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์
(E-Marketplace)
เป็นเว็บไซต์ E-Commerce
ที่มีรูปแบบเป็นตลาดนัดขนาดใหญ่ โดยภายในเว็บไซต์จะมีการรวบรวมเว็บไซต์ของร้านค้าและบริษัทต่างๆ
มากมาย โดยมีการแบ่งหมวดหมู่ของสินค้าเอาไว้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าไป
ดูสินค้าภายในร้านค้าต่างๆ ภายในตลาดได้อย่างง่ายดายและสะดวก
โดยรูปแบบของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ บางแห่งมีการแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ
ตามลักษณะของสินค้าที่มีอยู่ภายในตลาดแห่งนั้น เช่น ตลาดสินค้าทั่วไป www.TARAD.com
เว็บไซต์ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับอาหาร www.FoodMarketExchange.com
เว็บไซต์ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ของสินค้า OTOP อย่าง www.thaitambon.com เป็นต้น
6. การค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
(Social Commerce)
Social Commerce คือ
"การขายสินค้าโดยอาศัยมวลขนและสังคมเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความยากและการซื้อเกิดขึ้น
ผ่านเทคโนโลยีของโซเชียลเน็ตเวิรก์ (Social Network)" ที่ทำให้คนสามารถสื่อสารกับเพื่อนๆ
และคนรอบข้างของตัวเองได้ง่ายมากขึ้น มันได้สร้างรูปแบบการปฏิสัมพันธ์ (Engagement)
รูปแบบใหม่ ที่ทำให้เกิดการโน้มน้าว ชักชวน คนจำนวนมากได้ง่ายๆ
ผ่านบริการอย่าง Facebook หรือ Twitter รวมถึงการเกิดโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่อย่าง "การค้าทางสังคมออนไลน์ (Social
Commerce)" ทีมีรูปแบบโมเดลทางธุรกิจอย่าง "ร่วมกันซื้อ (Group
Buying)" โดยรูปแบบของ Social Commerce เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่หลังจาก
Social Network เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
หลักการตลาด 6 P ของ e-Commerce
1. Product แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1) สินค้าดิจิตอล (Digital Product) เช่น ซอฟแวร์ เพลง หนังสือดิจิตอล ซึ่งส่งสินค้าได้โดยผ่านอินเทอร์เน็ต
2) สินค้าที่ไม่ใช่ดิจิตอล (Phyical Product) เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ ซึ่งต้องมีการจัดส่งผ่านช่องทางการขนส่งให้ถึงมือผู้ซื้อ
การค้าทางออนไลน์ ลูกค้าไม่สามารถจำต้องเลือกสินค้าได้ก่อน จะได้แต่เพียงแค่ดูรูปภาพและ คำบรรยาย เราต้องให้ภาพที่ชัดเจนและรายละเอียดของสินค้า เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจให้มากที่สุด แต่ต้องไม่เกินความจริง รูปภาพชัดเจน ไม่มัว มืดดำ วางตำแหน่งภาพสมดุล มีทั้งขนาด preview และ Full หากเป็นสินค้าบริการต้องให้เห็นส่วนสำคัญของการบริการที่มีระดับ มีคุณภาพ บรรยากาศที่ดี การเขียนข้อความบรรยายต้องเขียนให้กระชับได้ใจความ และเชิญชวน
2. Price การวางขายสินค้าบน e-Commerce จะมีราคาถูกหรือแพง ขึ้นอยู่กับสินค้า ซึ่งเมื่อนำมารวมกับค่าขนส่งแล้ว ถ้ามีราคาเพิ่มมากขึ้น อาจะทำให้ความน่าสนใจลดลงหรือลูกค้าเปลี่ยนใจได้ อาจใช้วิธีปรับราคาให้ต่ำ เมื่อรวมค่าขนส่งแล้วยังคงต่ำกว่าหรือเท่ากับตลาด หากไม่สามารถปรับเรื่องราคาให้ เน้นความสะดวกจากการสั่งซื้อ การส่งเสริมการขาย หากราคาที่แจ้งยังไม่รวมค่าขนส่ง ต้องบอกให้ลูกค้าทราบว่ายังไม่ได้รวมค่าจัดส่ง และให้ข้อมูลด้านการจัดส่งด้วย
3. Place การนำเสนอเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้สนใจเข้าชมและเลือกใช้บริการ ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตต่าง ๆ ในประเทศและต่างประเทศ Search Engine
4. Promotion การส่งเสริมการขาย เป็นหลักการสำคัญที่จะดึงดูดความสนใจของลูกค้าให้เกิดการติดตามอย่างต่อเนื่องและสั่งซื้ออย่างสม่ำเสมอ โดยมีการเปลี่ยนแปลงเป็นประจำ การให้ส่วนลดตามปริมาณการสั่งซื้อ ให้สิทธิแก่สมาชิก หรือลูกค้าประจำ
5. Personalization การให้บริการส่วนบุคคล เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเว็บไซต์กับลูกค้าที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิก การทักทาย การให้ความรู้สึกและให้การปฏิบัติที่ดี
6. Privacy สิ่งที่ลูกค้าต้องการมากที่สุด คือ การรักษาความเป็นส่วนตัว การรักษาความเป็นส่วนตัวจึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องยึดมั่น เป็นจรรยาบรรณต่อลูกค้า โดยมีการปฏิบัติตามประกาศนโยบายรักษาความเป็นส่วนตัวที่ให้ไว้ จะต้องให้ลูกค้าเป็นผู้เข้าถึงและสามารถแก้ไขได้เพียงผู้เดียว ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าจากสถาบัน หน่วยงานที่ไว้วางใจและเชื่อถือได้
1) สินค้าดิจิตอล (Digital Product) เช่น ซอฟแวร์ เพลง หนังสือดิจิตอล ซึ่งส่งสินค้าได้โดยผ่านอินเทอร์เน็ต
2) สินค้าที่ไม่ใช่ดิจิตอล (Phyical Product) เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ ซึ่งต้องมีการจัดส่งผ่านช่องทางการขนส่งให้ถึงมือผู้ซื้อ
การค้าทางออนไลน์ ลูกค้าไม่สามารถจำต้องเลือกสินค้าได้ก่อน จะได้แต่เพียงแค่ดูรูปภาพและ คำบรรยาย เราต้องให้ภาพที่ชัดเจนและรายละเอียดของสินค้า เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจให้มากที่สุด แต่ต้องไม่เกินความจริง รูปภาพชัดเจน ไม่มัว มืดดำ วางตำแหน่งภาพสมดุล มีทั้งขนาด preview และ Full หากเป็นสินค้าบริการต้องให้เห็นส่วนสำคัญของการบริการที่มีระดับ มีคุณภาพ บรรยากาศที่ดี การเขียนข้อความบรรยายต้องเขียนให้กระชับได้ใจความ และเชิญชวน
2. Price การวางขายสินค้าบน e-Commerce จะมีราคาถูกหรือแพง ขึ้นอยู่กับสินค้า ซึ่งเมื่อนำมารวมกับค่าขนส่งแล้ว ถ้ามีราคาเพิ่มมากขึ้น อาจะทำให้ความน่าสนใจลดลงหรือลูกค้าเปลี่ยนใจได้ อาจใช้วิธีปรับราคาให้ต่ำ เมื่อรวมค่าขนส่งแล้วยังคงต่ำกว่าหรือเท่ากับตลาด หากไม่สามารถปรับเรื่องราคาให้ เน้นความสะดวกจากการสั่งซื้อ การส่งเสริมการขาย หากราคาที่แจ้งยังไม่รวมค่าขนส่ง ต้องบอกให้ลูกค้าทราบว่ายังไม่ได้รวมค่าจัดส่ง และให้ข้อมูลด้านการจัดส่งด้วย
3. Place การนำเสนอเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้สนใจเข้าชมและเลือกใช้บริการ ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตต่าง ๆ ในประเทศและต่างประเทศ Search Engine
4. Promotion การส่งเสริมการขาย เป็นหลักการสำคัญที่จะดึงดูดความสนใจของลูกค้าให้เกิดการติดตามอย่างต่อเนื่องและสั่งซื้ออย่างสม่ำเสมอ โดยมีการเปลี่ยนแปลงเป็นประจำ การให้ส่วนลดตามปริมาณการสั่งซื้อ ให้สิทธิแก่สมาชิก หรือลูกค้าประจำ
5. Personalization การให้บริการส่วนบุคคล เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเว็บไซต์กับลูกค้าที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิก การทักทาย การให้ความรู้สึกและให้การปฏิบัติที่ดี
6. Privacy สิ่งที่ลูกค้าต้องการมากที่สุด คือ การรักษาความเป็นส่วนตัว การรักษาความเป็นส่วนตัวจึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องยึดมั่น เป็นจรรยาบรรณต่อลูกค้า โดยมีการปฏิบัติตามประกาศนโยบายรักษาความเป็นส่วนตัวที่ให้ไว้ จะต้องให้ลูกค้าเป็นผู้เข้าถึงและสามารถแก้ไขได้เพียงผู้เดียว ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าจากสถาบัน หน่วยงานที่ไว้วางใจและเชื่อถือได้
ขั้นตอนการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. การซื้อ-ขายสินค้าผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2. การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic
Commerce - E-Commerce)
3. การสมัครสมาชิกผ่านระบบออนไลน์
4. การตกลงทำสัญญาซื้อ-ขาย หรือสัญญาตกลงตามข้อบังคับต่างๆ
บนเครือข่าย
5. การโอนเงินด้วยระบบอัตโนมัติผ่านระบบเครือข่าย
6. การสื่อสาร
ส่ง-รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเครือข่ายการสื่อสาร
7. การสอบถามข้อมูลผ่านระบบออนไลน์
8. การส่ง-รับ แลกเปลี่ยนข้อมูลและยืนยันเอกสารทางศุลกากรด้วยระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Data Interchange - EDI)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น