แอพพลิเคชันระดับองค์กร
Enterprise Resource Planning
ERP คือ
การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม
เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร
คือระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร
โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน เช่น หากเป็น ERP
ของบริษัทจะหมายรวมตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชี และการเงิน
ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า
เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรของบริษัทนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอน (Algorithm) การทำงานได้อีกด้วย
ปัจจุบัน ERP
มีการพัฒนาไปสู่รูปแบบโปรแกรมสำเร็จรูป ERP ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์มาตรฐาน
สามารถได้รับการติดตั้งและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย ERP sotfwareมีหน้าที่รวบรวมส่วนประกอบทางธุรกิจต่างๆ เช่น งานวางแผน (Planning)
งานผลิต (Production) งานขาย (Sale) งานทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) และงานบัญชีการเงิน
(Accounting/Finance) ระบบขายหน้าร้าน POS แล้วเชื่อมโยงส่วนงานต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน
เพื่อให้มีการใช้ข้อมูลร่วมกันจากฐานข้อมูลเดียวกัน
มีการใช้กระบวนการที่เป็นมาตรฐานร่วมกัน (Common Processes) ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการทำงานกระบวนการทางธุรกิจขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ข้อดีของการรวมข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน
เพื่อให้ข้อมูลเดียวกันสามารถใช้ร่วมกันทั้งองค์กรได้
ERP sotfwareคือ
ซอฟต์แวร์ที่มีการรวบรวม หรือผนวกฟังก์ชันงานทั้งหมดในองค์กร หรือมีการเชื่อมโยงในส่วนของโมดูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน
โดยมีการทำงานในลักษณะแบบเรียลไทม์ และ ERP sotfwareจะได้รับการออกแบบมาบนพื้นฐานของวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนั้นๆ
(Best Practice) ก็คือมีการกำหนดในส่วนของกระบวนการทางธุรกิจ
ที่มีการทดสอบ และสำรวจมาแล้วว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนั้นๆ
ไว้ในตัวของ ERP sotfwareโดยที่ ERP sotfwareจะสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับลักษณะการดำเนินงานขององค์กรนั้น
โครงสร้างของ ERP
แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มคือ
1 Material
Resource Planning (MRP) หมายถึง
ระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการจัดทำแผนความต้องการวัสดุ
โดยมีองค์ประกอบของข้อมูลนำเข้าที่สำคัญ 3 รายการคือ
ตารางการผลิตหลัก แฟ้มข้อมูลบัญชีรายการวัสดุ (Bill of Material File) และ แฟ้มข้อมูลสถานะคงคลัง (Inventory Status File)
2 Customer
Resource Management (CRM) หมายถึง
ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรและลูกค้า
เพื่อให้เป็นความสัมพันธ์ระยะยาว โดยระบบนี้จะศึกษาพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า
ความสนใจ ความต้องการ
เพื่อให้องค์กรนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และนำสินค้าเสนอต่อลูกค้าให้ใกล้เคียงกับที่ลูกค้าสนใจ
และการบริการหลังการขายแก่ลูกค้า ลดการสูญเสียลูกค้า ลดต้นทุนการตลาด
เพิ่มรายได้จากการที่ลูกค้าซื้อและแนะนำให้คนรู้จักซื้นสินค้าขององค์กร
3 Finance
Resource Management (FRM) หมายถึง
ระบบสารสนเทศที่เน้นให้บริการเกี่ยวกับการเงินและบัญชี โดยอิงตามกฏระเบียบและข้อบังคับตามที่ประเทศนั้นๆ กำหนด FRM ถือเป็นส่วนประกอบหลักของโครงสร้าง ERP ทั้งหมด
โดยผลลัพธ์จากการประมวลผลของ FRM มักจะออกมาในรูปแบบรายงาน
ทั้งรายงานสำหรับระดับปฏิบัติการ รายงานสำหรับผู้บริหาร
และรายงานสำหรับหน่วยงานภายนอก เช่น กรมบัญชีกลาง กรมสรรพากร เป็นต้น
4 Human
Resource Management (HRM) หมายถึงระบบสารสนเทศเพื่อการบริการงานทางบุคคล
จัดประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานของพนักงานในองค์กร ข้อมูลพื้นฐานของโครงสร้างองค์กร
การประมวลผลเกี่ยวกับเงินเดือน เป็นต้น
5 Supply
Chain Management (SCM) หมายถึง ระบบสารสนเทศเพื่อจัดการกระบวนการไหลของวัสดุ
สินค้าตลอดจนข้อมูลและธุรกรรมต่างๆ ผ่านองค์กรที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้จัดจำหน่าย
ไปจนถึงลูกค้า โดยที่องค์กรต่างๆ มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน
คุณสมบัติของ ERP ที่สำคัญ คือ
1
ควรมีความยืดหยุ่น (Flexible) ควรมีความยืดหยุ่น
รองรับองค์กร หากมีการปรับเปลี่ยนในอนาคตได้
อีกทั้งการเก็บข้อมูลควรใช้ฐานข้อมูลกลางเดียวกัน เพื่อให้สามารถบูรณาการข้อมูลได้
2 โมดูลควรอิสระจากกัน (Modular) ประกอบด้วยหลายฟังก์ชันการทำงาน
หรือหลายโมดูลดังนั้นควรมีการทำงานที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน และอิสระต่อกัน
เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงจะได้ไม่กระทบกับโมดูลอื่นๆ
และต้องรองรับการทำงานได้หลากหลายแพลตฟอร์ม (Platform)
3 ครอบคลุม (Comprehensive) สามารถรองรับการทำงานได้หลากหลายฟังก์ชัน
เนื่องจากแต่ละองค์กรมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกัน
ดังนั้นต้องหลากหลายและครอบคลุม
4 นอกเหนือจากองค์กร (Beyond
the Company) สามารถเชื่อมต่อกับระบบสารสนเทศอื่นๆ
ขององค์กรได้ ไม่จำกัดเพียง ERP เท่านั้น
5 Belong
to the Best Business Practices มีกระบวนการทำงานที่เป็นมาตรฐาน
โดยนำกิจกรรมหรือกระบวนการทำงานที่จัดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่องค์กรพึ่งมีไว้ในระบบ
หากแต่องค์กรสามารถปรับแต่งได้ตามความเหมาะสมกับองค์กรนั้นๆ
system application and product in
data processing
SAP คือ
โปรแกรมที่ช่วยจัดการสายงานทุกสายงานของธุรกิจให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
และได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ สามารถนำไปใช้
ประกอบการดำเนินกิจกรรมของธุรกิจได้
และผู้บริหารสามารถเรียกดูข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลสถานะของบริษัทได้ กล่าวโดยสรุป
SAP (System Application products) เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางธุรกิจประเภท ERP (Enterprise
Resource Planning) ของประเทศเยอรมันที่ใช้ควบคุมดูแลทุกสายงานของบริษัท
ประวัติของ SAP
SAP ก่อตั้งที่ประเทศเยอรมันนี เมื่อปี 1972 (พ.ศ. 2515) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ Walldorf, Germany โดยการรวมตัวกันของอดีตพนักงานบริษัท IBM และเจริญเติบโตจนกลายเป็นบริษัท software ที่ใหญ่เป็นอันดับ5ของโลก มีบริษัทที่มีการใช้ SAP มากกว่า 6,000 บริษัท ใช้มากกว่า 50 ประเทศ ใช้มากกว่า 9,000 site มีส่วนแบ่งในตลาด client/server software กว่า 31% มีผู้ใช้เพิ่ม 50% ต่อปี มียอดขาย SAP R/3 เพิ่มขึ้น 70% ต่อปี เป้าหมายธุรกิจในเริ่มแรก เน้นลูกคาที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ (Enterprise-scale) แต่ในปัจจุบันได้ขยายธุรกิจไปที่ลูกค้าขนาดเล็กและขนาดกลาง
SAP ก่อตั้งที่ประเทศเยอรมันนี เมื่อปี 1972 (พ.ศ. 2515) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ Walldorf, Germany โดยการรวมตัวกันของอดีตพนักงานบริษัท IBM และเจริญเติบโตจนกลายเป็นบริษัท software ที่ใหญ่เป็นอันดับ5ของโลก มีบริษัทที่มีการใช้ SAP มากกว่า 6,000 บริษัท ใช้มากกว่า 50 ประเทศ ใช้มากกว่า 9,000 site มีส่วนแบ่งในตลาด client/server software กว่า 31% มีผู้ใช้เพิ่ม 50% ต่อปี มียอดขาย SAP R/3 เพิ่มขึ้น 70% ต่อปี เป้าหมายธุรกิจในเริ่มแรก เน้นลูกคาที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ (Enterprise-scale) แต่ในปัจจุบันได้ขยายธุรกิจไปที่ลูกค้าขนาดเล็กและขนาดกลาง
ความสามารถในการทำงานของ SAP
SAP ได้ออกแบบมาให้รองรับการดำเนินงานของธุรกิจ หรือหน่วยงาน ด้วยคุณสมบัติที่ หลากหลาย ง่ายต่อการใช้งาน อาทิเช่น
SAP ได้ออกแบบมาให้รองรับการดำเนินงานของธุรกิจ หรือหน่วยงาน ด้วยคุณสมบัติที่ หลากหลาย ง่ายต่อการใช้งาน อาทิเช่น
1. รองรับการจัดทำระบบ
Business Intelligence โดยสามารถทำงานกับข้อมูลในระบบ SAP
และไม่ใช่ระบบ SAP
2. การจัดทำเหมืองข้อมูล
(Data mining)
3. การจัดทำคลังข้อมูล
(Data Warehouse)
4. ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า
(Customer Relationship Management: CRM)
5. Integration
Business Planning แล้วส่งต่อข้อมูลไปในระบบ ERP ซึ่งสามารถดูผล ผ่านทางโปรแกรม Web browser หรือ Excel
ได้
6. การทำ
Strategic Management, Balance Score Card การติดตามและประเมินผล
การดำเนินงานตามตัวชี้วัด (KPI) การวิเคราะห์แนวโน้ม
การวิเคราะห์สถานภาพปัจจุบัน อดีตและ อนาคตขององค์กร
7. การออกรายงาน
(Report) ในรูปแบบต่างๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในทุกระดับ
ขององค์กร รายงานดังกล่าวสามารถส่งต่อไปยังผู้ใช้งานโดยผ่านทาง E-mail หรือ SMS ได้
8. สามารถออกแบบซอฟต์แวร์ประยุกต์ซึ่งทำงานผ่านเว็บไซต์
(Web Application Design) ได้
9. มีแม่แบบ
(Template) ของ Module ต่างๆ ที่เป็น Best
Practice จำนวนมากเพื่อ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์
10. การนำซอฟต์แวร์นี้มาใช้งานในองค์กร
จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร ได้แก่
การมีลูกค้าใหม่ (New
Customer)
การรักษาลูกค้าเดิมไว้ได้ (Loyalty)
การบริหารทรัพยากรต่างๆ
ภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
การสร้างระบบการทำงานของซอฟต์แวร์ในองค์กรแบบ
Portal
ระบบ CRM (ซีอาร์เอ็ม)
ย่อมาจาก Customer
Relationship Management (คัทโทเทอร์ รีเลชั่นชิฟ แมเนจเม้นท์) คือ การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ หรือ
การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งหมายถึงวิธีการที่เราจะบริหารให้ลูกค้ามีความรู้สึกผูกพันธ์กับสินค้า
,บริการ หรือองค์กรของเรา
เมื่อลูกค้าเค้ามีความผูกพันธ์ในทางที่ดีกับเรา
แล้วก็ลูกค้านั้นไม่คิดที่จะเปลี่ยนใจไปจากสินค้าหรือบริการของเรา
ทำให้เรามีฐานลูกค้าที่มั่้นคง และนำมาซึ่งความมั่นคงของบริษัท ดังนั้น
การที่จะรู้ซึ้งถึงสถานะความผูกพันธ์กับลูกค้าได้นั้น
เราก็ต้องอาศัยการสังเกตุพฤติกรรมของลูกค้า
แล้วนำมาวิเคราะห์หาความเกี่ยวข้องระหว่าง พฤติกรรมของลูกค้ากับกลยุทธ์ทางการตลาดของเรา
กระบวนการทำงานของระบบ CRM
(ซีอาร์เอ็ม) มี 4 ขั้นตอนดังนี้
1.Identify (ไอเดนทิไฟ) เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เช่น ชื่อลูกค้า
ข้อมูลสำหรับติดต่อกับลูกค้า
2.Differentiate (ดิเฟอะเรนทิเอท) วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณค่าที่ลูกค้ามีต่อบริษัท
3.Interact (อีนเทอะแรค) มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า และเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระยะยาว
4.Customize (คัทโทไมต์) นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน
2.Differentiate (ดิเฟอะเรนทิเอท) วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณค่าที่ลูกค้ามีต่อบริษัท
3.Interact (อีนเทอะแรค) มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า และเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระยะยาว
4.Customize (คัทโทไมต์) นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน
ระบบ CRM มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการนำ Software (ซอฟต์แวร์) มาใช้ในการพัฒนาเพื่อดึงดูดลูกค้า สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เช่น WebSite (เว็บไซต์) เป็นต้น CRM software ช่วยในการจัดการฐานข้อมูลลูกค้า วิเคราะห์ข้อมูล และเป็นช่องทางในการติดต่อกับลูกค้า
CRM software มักแบ่งออกเป็น 3
ส่วนดังนี้
1.Operational CRM เป็นซอฟท์แวร์ front office ที่ใช้ช่วยจัดการกระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า
ไม่ว่าจะเป็น sales, marketing หรือ service เช่น การจัดการข้อมูลติดต่อลูกค้า การเสนอราคา การบริหารฝ่ายขาย
การเก็บข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า ระบบบริการลูกค้า เป็นต้น
2.Analytical CRM ระบบวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าที่รวบรวมได้จากส่วน Operational CRM หรือจากแหล่งอื่นๆ เพื่อแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มและค้นหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่บริษัทสามารถนำเสนอสินค้า หรือบริการเพิ่มเติมได้
3.Collaborative CRM ระบบช่วยสนับสนุนในการติดต่อปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านทางช่องทางต่างๆ เช่น ติดต่อส่วนตัว จดหมาย แฟกซ์ โทรศัพท์ เว็บไซต์ E-Mail เป็นต้น รวมถึงช่วยจัดการทรัพยากรที่บริษัทมีคือพนักงาน กระบวนการทำงาน และฐานข้อมูล หรือ Database (ดาต้าเบส) ลูกค้า เพื่อนำไปให้บริการแก่ลูกค้าและช่วยรักษาฐานลูกค้าของบริษัทได้ดีขึ้น
2.Analytical CRM ระบบวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าที่รวบรวมได้จากส่วน Operational CRM หรือจากแหล่งอื่นๆ เพื่อแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มและค้นหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่บริษัทสามารถนำเสนอสินค้า หรือบริการเพิ่มเติมได้
3.Collaborative CRM ระบบช่วยสนับสนุนในการติดต่อปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านทางช่องทางต่างๆ เช่น ติดต่อส่วนตัว จดหมาย แฟกซ์ โทรศัพท์ เว็บไซต์ E-Mail เป็นต้น รวมถึงช่วยจัดการทรัพยากรที่บริษัทมีคือพนักงาน กระบวนการทำงาน และฐานข้อมูล หรือ Database (ดาต้าเบส) ลูกค้า เพื่อนำไปให้บริการแก่ลูกค้าและช่วยรักษาฐานลูกค้าของบริษัทได้ดีขึ้น
ประโยชน์ของระบบ CRM
ต่อธุรกิจ
1.ระบบ CRM ช่วยเพิ่มความสามารถในการให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น เช่น
ใช้เว็บไซต์ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า วิธีการใช้สินค้า
และให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เป็นช่องทางให้ลูกค้าแนะนำติชมต่อบริการของบริษัทได้ง่าย ช่วยให้ลูกค้าสามารถ Customize
(คัทโทไมต์) ความต้องการของตนเองได้ทันที เป็นต้น
2.ระบบ CRM ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าให้ดีขึ้น ช่วยให้บริษัทรู้ความสนใจ ความต้องการ และพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า ทำให้บริษัทสามารถนำเสนอสินค้าที่เหมาะสม กับลูกค้าได้ และช่วยให้บริษัทสามารถให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้าตามที่ลูกค้าต้องการได้ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาวจะช่วยเพิ่ม loyalty ที่ลูกค้ามีต่อบริษัท ลดการสูญเสียลูกค้า ลดต้นทุนการตลาด เพิ่มรายได้จากการที่ลูกค้าซื้อซ้ำหรือแนะนำให้คนรู้จักซื้อสินค้าของบริษัท และนั่นหมายถึงกำไรของบริษัทที่เพิ่มมากขึ้น
2.ระบบ CRM ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าให้ดีขึ้น ช่วยให้บริษัทรู้ความสนใจ ความต้องการ และพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า ทำให้บริษัทสามารถนำเสนอสินค้าที่เหมาะสม กับลูกค้าได้ และช่วยให้บริษัทสามารถให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้าตามที่ลูกค้าต้องการได้ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาวจะช่วยเพิ่ม loyalty ที่ลูกค้ามีต่อบริษัท ลดการสูญเสียลูกค้า ลดต้นทุนการตลาด เพิ่มรายได้จากการที่ลูกค้าซื้อซ้ำหรือแนะนำให้คนรู้จักซื้อสินค้าของบริษัท และนั่นหมายถึงกำไรของบริษัทที่เพิ่มมากขึ้น
การบริหารห่วงโซ่อุปทาน (Supply
Chain Management; SCM)
เน้นในเรื่องของการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิด
และการประสานงานกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ การสร้าง
และการเคลื่อนย้ายสินค้า ห่วงโซ่อุปทานทำการบูรณาการกระบวนการทางธุรกิจในการเพิ่มความรวดเร็วของข่าวสาร
สินค้า และการไหลเวียนของเงินทุนทั้งขึ้นและลง เพื่อช่วยลดเวลา
ลดความพยายาในการทำงานที่ซ้ำซ้อน และลดมูลค่าในการจัดการคลังสินค้า
ห่วงโซ่อุปทานเป็นเครือข่ายขององค์กรและกระบวนการธุรกิจในการจัดหาวัตถุดิบ
การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบให้เป็นส่วนประกอบของสินค้าหรือสินค้าที่พร้อมใช้งาน
และการกระจายสินค้าที่ผลิตขึ้นมาแล้วไปยังลูกค้า
ห่วงโซ่อุปทานจะเชื่อมโยงผู้สนับสนุนวัตถุดิบ โรงงานการผลิต ศูนย์กระจายสินค้า
ร้านขาบปลีก และลูกค้า เข้ากับห่วงโซ่ของสินค้าและบริการ
จากแหล่งผลิตไปจนถึงผู้บริโภค วัตถุดิบ ข่าวสาร และค่าสินค้า
จะถูกป้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทาน กลายเป็นข้อมูลที่ไหลเวียนอยู่ในระบบ
สินค้าเริ่มต้นจากการเป็นวัตถุดิบ
และเดินทางผ่านกระบวนการขนส่งและกระบวนการผลิตจนกระทั่งไปถึงมือลูกค้า
สินค้าที่ถูกส่งคืนจะไหลเวียนในทิศทางตรงกันข้ามจากผู้ซื้อกลับมาที่ผู้ขาย
วัตถุประสงค์หลักของระบบการบริหารห่วงโซ่อุปทาน
ก็คือ การมองเห็นข่าวสาร (Information Visibility) ซึ่งหมายถึงการเปิดกว้างและการสื่อสารอย่างรวดเร็ว
และการใช้ข่าวสารร่วมกันระหว่างสมาชิกในห่วงโซ่อุปทาน การเคลื่อนย้ายที่ถูกต้องของข่าวสารที่เที่ยงตรง
ทำให้เกิดความเป็นไปได้ในการสั่งสินค้า การนำส่ง และการผลิตอย่างเหมาะสม
เพื่อที่จะลดปริมาณระดับสินค้าในคลังสินค้าให้เหลือน้อยที่สุด
และช่วยนำส่งสินค้าไปยังลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
ระบบการบริหารห่วงโซ่อุปทานทำให้การไหลเวียนของข่าวสารเป็นไปโดยอัตโนมัติระหว่างองค์กร
และผู้สนับสนุนวัตถุดิบ เพื่อทำให้เขาสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น
ซอฟแวร์ของระบบบริหารห่วงโซ่อุปทานสามารถแบ่งออกได้เป็น
2 ชนิดคือ
ระบบวางแผนห่วงโซ่อุปทาน (Supply
Chain Planning Systems) ช่วย
องค์กรในการสร้างการพยากรณ์ความต้องการ สำหรับสินค้า
และช่วยพัฒนาการหาแหล่งสินค้าและแผนการผลิตสินค้านั้นๆ
ระบบจะช่วยองค์กรณ์ในการตัดสินใจได้ดีขึ้น เช่น
ทำการกำหนดว่าสินค้าชนิดใดจะถูกผลิตขึ้นมาในปริมาณเท่าใดในช่วงเวลาที่กำหนด
ทำการกำหนดระดับวัตถุดิบ ชิ้นส่วนสินค้า และสินค้าสำเร็จรูปในคลังสินค้า
ทำการกำหนดสถานที่ที่จะใช้เก็บสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว และทำการระบุวิธีการขนส่ง
ที่จะใช้ในการนำส่งสินค้า
โดยหน้าที่ที่มีความสำคัญและมีความซับซ้อนมากที่สุดในกระบวนการวางแผนห่วงโซ่อุปทานก็คือ การวางแผนความต้องการ (Demand Planning) ซึ่งก็คือการทำหน้าที่กำหนดปริมาณสินค้าที่องค์กรต้องการเพื่อที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ
ระบบการดำเนินการห่วงโซ่อุปทาน (Supply
Chain Execution Systems) บริหารจัดการการไหลเวียน
ของสินค้าผ่านศูนย์กระจานสินค้าและคลังสินค้าต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าสืนค้าจะถูกนำส่งไปยังสถานที่ที่ถูกต้อง
โดยวิธีการที่มีประสิทธฺภาพมากที่สุด ระบบนี้จะติดตามสถานะทางกายภาพของสินค้า การบริหารจัดการวัตถุดิบ
การปฏิบัติงานของคลังสินค้าและการขนส่ง
และข่าวสารเกี่ยวกับเงินที่เกี่ยวข้องกับทุกฝ่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น